สาระสำคัญ ของ คลื่นความร้อนในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561

หลังจากน้ำท่วมและโคลนถล่มที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2561 ได้มีคลื่นความร้อนที่แผ่กระจายไปทั่วแผ่นดินใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและแผ่นดินถล่ม ทั้งจังหวัดฮิโรชิมะ, โอกายามะ และเอฮิเมะ มีผู้ป่วย 145 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยเป็นลมเพราะความร้อนเนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นกว่า 35 องศาเซลเซียส (95.0 องศาฟาเรนไฮต์)[1] เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม สถานีตรวจการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 200 แห่งจาก 927 สถานีในเครือข่ายการสังเกตการณ์ทั่วประเทศได้บันทึกอุณหภูมิสูงสุดที่เกิน 35 องศาเซลเซียส (95.0 องศาฟาเรนไฮต์)[2] จากนัน ในวันที่ 23 กรกฎาคม พบว่ามีอุณหภูมิสูงถึง 41.1 องศาเซลเซียส (106.0 องศาฟาเรนไฮต์) ในเมืองคูมางายะซึ่งอยู่ห่างทางตะวันตกเฉียงเหนือของโตเกียว 65 กิโลเมตร (40 ไมล์) นับเป็นอุณภูมิสูงสุดเท่าที่เคยมีมาของประเทศญี่ปุ่น[3] เมืองหลายแห่งได้บันทึกอุณหภูมิไว้ที่ 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันดังกล่าว[4] ส่วนในนครเกียวโตมีอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100 องศาฟาเรนไฮต์) ต่อเนื่องเป็นเวลาเจ็ดวันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติไว้ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 [5]

ในวันที่ 24 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นภัยธรรมชาติ และชี้ให้เห็นว่าหลายพื้นที่ "กำลังมีระดับความร้อนมากเป็นประวัติการณ์"[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คลื่นความร้อนในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561 http://www.jma.go.jp/jma/press/1808/10c/h30goukouo... https://www.bbc.com/news/world-asia-44910435 https://www.nytimes.com/aponline/2018/07/23/world/... https://www.theguardian.com/world/2018/jul/20/heat... https://public.wmo.int/en/media/news/july-sees-ext... https://www.data.jma.go.jp/fcd/yoho/data/kouon/ind... https://www.bbc.co.uk/news/world-asia-44935152 https://www.independent.co.uk/news/world/asia/japa...